หลักการทำงานของปั๊มน้ำหอยโข่ง
สวัสดีครับพบกับ EBARATHAILAND กับสาระน่ารู้เกี่ยวกับปั๊มน้ำที่ตั้งใจนำมาฝากทุกท่านอีกเช่นเคยมนุษย์เรามีความสัมพันธ์และผูกพันกับแหล่งน้ำทั้งในเรื่องการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และมีการใช้ประโยชน์จาก แหล่งน้ำอย่างสม่ำเสมอซึ่ง ปั๊มน้ำจึงเป็นเครื่องทุ่นแรงที่ ทำให้มนุษย์นำน้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้อย่างสะอาด รวดเร็วยิ่งขึ้น
แรงหนีศูนย์กลาง
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจหลักการพื้นฐานของแรงหนีศูนย์กลาง แรงที่เกิดจากการหมุนของใบพัดในปั๊มน้ำด้วยความเร็ว ซึ่งจะมีค่าเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเร็วยกกำลังสอง
หลักการทำงานของปั๊มน้ำชนิดหอยโข่ง
การส่งน้ำออกจากปั๊มน้ำชนิดหอยโข่งอาศัย “ แรงหนีศูนย์กลาง ” เมื่อแรงหนีศูนย์กลางกระทำต่อน้ำในปั๊ม ความดัน บริเวณศูนย์กลางของปั๊มจะต่ำลงเกือบเป็นสูญญากาศ ความดันของบรรยากาศภายนอกจะดันน้ำจากบ่อพักน้ำเข้า ไปยังบริเวณศูนย์กลางของปั๊มน้ำ การหมุนของใบพัด ในปั๊มน้ำจะทำให้เกิดสูญญากาศและแรงหนีศูนย์กลาง พร้อมๆกัน ความต่อเนื่องของการหมุนนี้ทำให้น้ำเคลื่อนที่ ผ่านปั๊มน้ำจากระดับที่ต่ำไปหาระดับที่สูงได้
โครงสร้างและชิ้นส่วนของปั๊มน้ำชนิดหอยโข่ง
ปั๊มน้ำแบบหอยโข่งสามารถสูบน้ำด้วยการทำงานของส่วนประกอบ 4 ส่วน คือ
1. ใบพัด (Impeller) : เป็นส่วนที่ทำ ให้เกิดแรงหนีศูนย์กลางต่อน้ำที่อยู่ภายในเรือนสูบ
2. เรือนสูบ (Casing) : เป็นส่วนที่เปลี่ยนแรงหนีศูนย์กลางที่เกิดจากใบพัดให้เป็นแรงดันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ช่องดูด (Suction) : ทำหน้าที่เป็นท่อทางน้ำเข้าของปั๊มน้ำ
4. ช่องดูด (Discharge) : ทำหน้าที่เป็นท่อทางส่งน้ำออกของปั๊มน้ำ
โครงสร้างและชิ้นส่วนของเครื่องสูบน้ำชนิดหอยโข่ง
ใบพัด (impeller)
ใบพัดแบบเปิด (En-closed impeller)
มีประสิทธิภาพดี แต่ละเครื่องมีประสิทธิภาพเกาะกลุ่ม มีวัตถุแปลกปลอมจะอุดตันใบพัดง่ายกว่า ซึ่งมักใช้ใน การดูดน้ำใส หรือน้ำสะอาด
ใบพัดแบบกึ่งเปิด (Semi-opened impeller)
มีประสิทธิภาพดี แต่ละเครื่องแตกต่างกันมากกว่าแบบปิด สามารถสูบน้ำที่มีวัตถุแปลกปลอมได้บ้างโดยไม่มีการอุดตัน
เรือนสูบ(Casing)
เรือนสูบแบบโวลูทเดี่ยวจะใช้ในเครื่องสูบ ชนิดสเตจเดียว ( Single stage)
เรือนสูบแบบโวลูทคู่จะใช้ในเครื่องสูบชนิด หลายสเตจ ( Multi stage)
เพลา (Shaft)
เพลามีหน้าที่ถ่ายทอดกำลังหรือแรงบิดจากเครื่องฉุด ไปยังใบพัดของ เครื่องสูบ เพลาสามารถรับแรงต่างๆในเครื่องสูบได้ มักจะทำจากเหล็กไร้สนิม (Stainless Steel)
ลูกปืน (Bearing)
ใช้สำหรับรองรับภาระที่เกิดจากใบพัดและเพลารวมกับแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นขณะเครื่องสูบทำงานโดยส่วนมากแบริ่งเป็นตลับลูกปืน (Ball Bearing)
แหวนเรือนสูบ (Casing Ring)
เป็นแหวนที่ติดอยู่บนเครื่องสูบตรงส่วนที่อยู่ชิดกับใบพัดซึ่งจะมีช่องว่าง แคบๆ (gap) เพื่อป้องกันไม่ให้ใบพัดสีกับตัวเรือน
เมคานิคอลซีล (Mechanical Seal)
ป้องกันการรั่วซึมได้อย่างสมบูรณ์เพลาไม่สึก ไม่จำเป็นต้องมีการปรับแต่งกันรั่วในขณะเครื่องสูบทำงาน
ข้อต่อเพลา (Coupling)
เป็นชิ้นส่วนที่ใช้ต่อเพลาของเครื่องสูบน้ำกับเพลาของมอเตอร์ ทำหน้าที่ถ่ายทอดแรงบิดจากเพลาของมอเตอร์ไปยังเพลาของปั๊มน้ำ
วาล์วระบายอากาศและกรวยกรอกน้ำ
เพื่อใช้เติมน้ำให้เต็มท่อดูดและตัวปั๊มน้ำ เพื่อไล่อากาศ ก่อนการเดินปั๊มน้ำ ปั๊มน้ำและท่อดูดจะต้องมีน้ำเต็มท่อ คือต้องมีการล่อน้ำเพื่อไล่อากาศ การไล่อากาศดังกล่าวจะทำให้เกิดสูญญากาศภายในโข่ง ทำให้ปั๊มน้ำสามารถสูบน้ำได ซึ่งในปั๊มน้ำหอยโข่งบางรุ่นสามารถล่อน้ำด้วยตนเองได้